การรักษาแผลกดทับ
การรักษาแผลกดทับ
ปัญหาหนึ่งที่มักพบบ่อยในผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวร่างกายได้น้อย หรือ นอนติดเตียงนานๆ คือเรื่องแผลกดทับเกิดการที่ผิวหนังถูกกดทับเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงผิวหนังที่ถูกกดทับได้อย่างสะดวก ส่งผลให้ผิวหนังมีลักษณะเป็นรอยแดงและมีการแตกทำลายของผิวหนัง ถ้าไม่ได้รับการป้องกันดูแลตั้งแต่ระยะเริ่มแรกก็จะส่งผลให้เกิดแผลกดทับตามมาได้ ซึ่งการเกิดแผลกดทับจะส่งผลให้ผู้ป่วยเจ็บปวด จากการรักษาที่ยุ่งยาก และส่งผลกระทบต่อทางด้านจิตใจของผู้ป่วยด้วย แผลกดทับมีหลายระดับตามความรุนแรง มาลองอ่านกันดูนะค่ะ ว่าจะต้องดูแลผู้ป่วยกันอย่างไรบ้าง
แผลกดทับแบ่งออกเป็น 4 ระดับ
ระดับที่ 1 เป็นรอยแดง ช้ำบริเวณผิวหนัง
ระดับที่ 2 ผิวหนังกำพร้าถูกทำลายหรือฉีกขาด หรือมีการทำลายชั้นผิวหนังแท้เป็นแผลตื้นๆ
ระดับที่ 3 มีการทำลายชั้นผิวหนังลึกลงไปแต่ไม่เป็น ยังไม่ถึงกับเป็นพังผืดหรือเอ็นยึดกล้ามเนื้อ
ระดับที่ 4 มีการทำลายผิวหนังลึกลงไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อ กระดูก หรือโครงสร้างของร่างกาย
การดูแลพยาบาลแผลกดทับ
1. หมั่นดูแลพลิกตะแคงตัว เปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะในรายที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยจัดให้ตะแคง นอนหงาย นอนคว่ำกึ่งตะแคง สลับกันไปตามความเหมาะสม ควรใช้หมอนหรือผ้านุ่มๆรองบริเวณที่กดทับ เพื่อป้องกันการเสียดสีและลดแรงกดทับ
2. ดูแลความสะอาดที่นอน ผ้าปูที่นอน ให้สะอาด แห้ง และเรียบตึงอยู่เสมอ หรือควรใช้ที่นอนที่มีการถ่ายเทอากาศ เช่น ที่นอนลม ที่นอนน้ำ ที่นอนฟองน้ำ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ที่นอนที่การระบายอากาศไม่ดี เช่น ที่นอนหุ้มพลาสติก
3. การยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ควรมีผ้ารองยก และใช้การยกในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เพื่อป้องกันให้เกิดการเสียดสีน้อยที่สุด
5. ดูแลผิวหนังผู้ป่วยให้สะอาด แห้งไม่อับชื้น เพราะถ้าผิวหนังเปียกชื้นหรือร้อนจะทำให้เกิดแผลเปื่อย ผิวหนังถลอกง่าย ต้องทำความสะอาดแล้วซับให้แห้ง และหากสังเกตพบว่าผู้ป่วยมีผิวหนังแห้งแตกเป็นขุย ควรดูแลทาครีมหรือโลชั่นทาผิวหนัง
6. ดูแลให้ผู้ป่วยออกกำลังกายตามความเหมาะสม เพื่อให้กล้ามเนื้อ หลอดเลือด และผิวหนังแข็งแรง มีการไหลเวียนของโลหิตดี
7. ดูแลอาหารให้ได้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีน วิตามิน ธาตุเหล็ก และน้ำอย่างสมดุลย์ด้วย
วิธีทำความสะอาดแผลกดทับ
การทำความสะอาดแผลที่อยู่ในระยะงอกขยาย ควรล้างแผลเบาๆ ควรทำเฉพาะผิวหนังรอบๆ หลีกเลี่ยงการขัดถูแผล หรือล้างแผลด้วยแรงดันสูง เพราะจะทำให้สารอาหาร เซลล์ที่กำลังงอกขยายถูกชะล้างออกไปด้วย
การทำความสะอาดแผลติดเชื้อหรือแผลเนื้อตาย ควรชะล้างแผลด้วยความดันสูง เพื่อขจัดเศษเนื้อตายและแบคทีเรีย ใช้น้ำยาทำความสะอาดแผล (น้ำเกลือนอร์มัล) หรือน้ำยาฆ่าเชื้อล้างแผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผลติดเชื้อ กำจัดช่องหรือโพรงที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง เนื่องจากช่องหรือโพรงมักมีสารคัดหลั่งจากแผลซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่ดีของ แบคทีเรีย จึงควรทำการอุดช่องหรือโพรงอย่างหลวมๆ ด้วยก๊อสหรือวัสดุที่เหมาะสม
ดังนั้นจากวิธีการดูแลที่กล่าวมานี้จะเป็นการป้องกัน ดูแลไม่ให้เกิดและลดการเกิดแผลกดทับ ซึ่งแผลกดทับหากเกิดขึ้นและลุกลามจากการเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นไปอีก เช่น การติดเชื้อในกระแสโลหิตจากบาดแผล หรือ อื่นๆ ซึ่งหากท่านใดพบปัญหาเหล่านั้น
รายการที่นอนป้องกันแผลกดทับ รายละเอียดเพิ่มเติม
*ข้อมูลอ้างอิงจาก : โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 2 , เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/Mhw26 (วันที่สืบค้าข้อมูล : 17 ตุลาคม 2566)*
18 ตุลาคม 2566
ผู้ชม 326 ครั้ง