ออกซิเจน (Oxygen) จำเป็นต่อร่างกายอย่างไร?
ออกซิเจน (Oxygen) จำเป็นต่อร่างกายอย่างไร?
ออกซิเจน (Oxygen) จำเป็นต่อร่างกายอย่างไร?
ปริมาณออกซิเจนที่มีอยู่ในกระแสเลือดนั้นส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของเราได้ โดยปริมาณของออกซิเจนในร่างกายแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
1.ระดับออกซิเจนต่ำ (Hypoxemia) คือ แรงดันออกซิเจนหรือค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนน้อยว่าปกติ นั่นคือการมีระดับออกซิเจนในเลือดอยู่ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท หรือมีค่าความอิ่มตัวในเลือดน้อยกว่า 96% การที่มีระดับออกซิเจนต่ำอาจเกิดได้จากการเป็นโรคโลหิตจาง โรคปอดเรื้อรัง โรคถุงลมโป่งพอง โรคปอดบวม หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดลมและปอด ภาวะน้ำท่วมปอด ซึ่งโรคเหล่านี้จะทำให้ปอดทำงานได้ไม่เต็มที่ ร่างกายจึงเกิดภาวะขาดออกซิเจน ส่งผลให้มสมองทำงานและสั่งงานช้าลง หรือเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลว หรือการเข้าไปอยู่ในสถานที่อับอากาศก็เป็นสาเหตุให้เกิดสภาวะออกซิเจนต่ำได้
2.ระดับออกซิเจนปกติ คือ แรงดันออกซิเจนหรือค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนอยู่ที่ 96-99% ซึ่งเป็นสภาวะที่ดีที่สุดต่อร่างกาย ซึ่งระดับออกซิเจนนี้จะส่งผลให้
- สมองทำงานดี ที่ระดับออกซิเจนปกติสมองจะมีการสั่งงานได้ดี เนื่องจากซลล์สมองจะใช้ปริมาณออกซิเจนมากกว่า 20% ของออกซิเจนทั้งหมดในการทำงาน ดังนั้นเมื่อร่างกายมีออกซิเจนอยู่ในระดับปกติ จะทำให้เซลล์สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้มีความจำดี มีสมาธิในการเรียนและการทำงาน เรียนรู้เข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ดี และช่วยให้ระบบภายในร่างกายทำงานได้ปกติภายใต้การสั่งงานของสมองที่ถูกต้อง
- ผิวพรรณดี เนื่องจากออกซิเจนและน้ำคือองค์ประกอบที่สำคัญของเซลล์ ดังนั้นเมื่อร่างกายได้รับน้ำและออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอ เซลล์ที่อยู่ในร่างกายก็จะแข็งแรงสมบูรณ์ ส่งผลให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล และช่วยให้เซลล์มีอายุยืนขึ้น ช่วยลดริ้วรอยที่เกิดขึ้นก่อนวัยอันควร
- ร่างกายแข็งแรง ออกซิเจนที่อยู่ในรูปของน้ำ เมื่อเข้าร่างกายจะดูดซึมเข้าสู่ตับ เซลล์ของตับจะได้รับออกซิเจนที่อยู่ในน้ำโดยที่เซลล์ตับจะดึงออกซิเจนมาใช้ในกระบวนการเปลี่ยนสารอาหารที่ดูดซึมเข้ามาให้เป็นพลังงานส่งให้กับร่างกาย เมื่อเซลล์ตับแข็งแรงจึงสามารถสร้างพลังงานเพียงพอในการใช้งานของร่างกาย ร่างกายจึงแข็งแรงสมบูรณ์และยังช่วยให้ตับสามารถขับสารพิษออกจากร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการตกค้างของสารพิษที่เป็นอัตรายต่อร่างกาย
3.ระดับออกซิเจนสูง (Hyperoxia) คือ แรงดันออกซิเจนหรือค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนมากกว่าปกติ นั่นคือมีระดับที่มีออกซิเจนในเลือดอยู่สูงว่า 100 มิลลิเมตรปรอทหรือมีค่าความอิ่มตัวในเลือดมากกว่า 99% เราเรียกว่า สภาวะ Hyperoxia หรือออกซิเจนเป็นพิษ เกิดจากการที่ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณมากหรือการรับออกซิเจนบริสุทธิ์เป็นเวลานาน 24 ชั่วโมงที่ความดัน 760 มิลลิเมตรปรอท โดยสภาวะระดับออกซิเจนสูงจะส่งผลดังนี้
- ผลต่อระบบทางเดินหายใจ เกิดการระคายเคือง ไอ เจ็บหน้าอก และส่งผลให้เนื้อเยื่อภายในปอดเกิดการเสื่อม เนื่องจากปอดมีน้ำและเลือดคั่งที่บริเวณเยื่อบุทางเดินอากาศทำให้เยื่อเกิดการอุดตัน ทำให้การแพร่ของก๊าซระหว่างปอดกับเลือดลดลง ความต้านทานในปอดสูงขึ้น ทำให้หายใจลำบากซึ่งจะทำให้เกิดการชักและอาจเสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา
- ผลต่อระบบประสาทตา โดยเฉพาะในเด็กถ้าอยู่ในสภาวะออกซิเจนสูง ออกซิเจนจะเข้าไปทำลายจอตา (Retina) จนเป็นสาเหตุของการตาบอดได้
สภาวะออกซิเจนต่ำนั้นจะพบได้บ่อยกว่าสภาวะออกซิเจนสูง เนื่องจากการเกิดสภาวะออกซิเจนสูงต้องเกิดจากการได้รับออกซิเจนบริสุทธิ์ในปริมาณที่มากเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมง ซึ่งการจะได้รับออกซิเจนบริสุทธิ์นั้นจะต้องอยู่ในการดูแลของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ทำให้โอกาสเกิดสภาวะออกซิเจนสูงนั้นเกิดขึ้นได้น้อยต่างจากสภาวะออกซิเจนต่ำที่พบได้ง่าย เนื่องจากร่างกายมีการใช้ออกซิเจนอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคเลือดจาง การออกกำลังกายหนักหรือทำงานหนักจนหายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายไม่ทัน หรือเข้าไปอยู่ในสถานที่อับอากาศ เราก็จะเกิดสภาวะออกซิเจนต่ำได้ ซึ่งเราสามารถแก้ไข้ได้ดังนี้
- สูดหายใจเข้าลึกๆ การสูดหายใจเข้าลึกๆ ยาวๆ จะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนจากอากาศเข้าสู่ร่างกายเพิ่มมากขึ้น ลดอาการออกซิเจนต่ำได้ เช่น อาการขาดออกซิเจนเนื่องจากความเครียด เพราะว่าเวลาที่เราเครียด กล้ามเนื้อของเราจะเกร็ง หายใจสั้นๆ ดังนั้นเมื่อเราหายใจยาวๆ จะช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และยังช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในร่างกายได้อีกด้วย
- การออกกำลังกาย เวลาออกกำลังกายร่างกายจะหายใจเร็วและแรงขึ้น ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนเพิ่มมากขึ้นและการออกกำลังกายยังช่วยให้เซลล์ในร่างกายแข็งแรงจึงสามารถแรงเปลี่ยนออกซิเจนเพื่อนำไปใช้งานได้มากขึ้นด้วย
- นวด การที่กล้ามเนื้อปวดเมื่อยเกิดจากกล้ามเนื้อมีการหดตัวและเกร็งตัว ทำให้เลือดในบริเวณนั้นหมุนเวียนไม่ดี กล้ามเนื้อขาดออกซิเจนจึงเกิดการปวดเมื่อยนั่นเอง การนวดจะเข้าไปกระตุ้นการหมุนเวียนของเลือดให้ดีขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อได้รับออกซิเจนและสารอาหารที่มากับกระแสเลือด
- การอาบแช่น้ำอุ่นหรืออบซาวน่า วิธีการนี้จะช่วยให้หลอดเลือดและเส้นเลือดฝอยมีการขยายตัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เลือดหมุนเวียนมากขึ้นร่างกายจึงมีการแลกเปลี่ยนเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและเอาคาร์บอนไดออกไซต์ออกมาจากร่างกาย ส่งผลให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งหน้าตาสดชื่น
- ดื่มน้ำ น้ำประกอบด้วยโมเลกุลของออกซิเจนกับไฮโดรเจน การดื่มน้ำมากๆ ก็เป็นการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายอีกวิธีหนึ่ง ดังนั้นเมื่อรู้สึกว่าร่างกายขาดออกซิเจนเราควรดื่มน้ำเพื่อช่วยในการนำออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดและควรดื่มน้ำเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 8 แก้วต่อวัน
ออกซิเจน เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตก็จริง แต่ทว่าการทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีความพอดีในตัว ถ้าได้รับมากไปหรือน้อยไปก็ย่อมที่จะส่งผลร้ายต่อร่างกายได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงควรรักษาสมดุลของร่างกายด้วยการดูแลตัวเองด้วยการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรง เมื่อร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ระบบการทำงานก็จะสมดุลไม่เกิดสภาวะออกซิเจนสูงหรือออกซิเจนต่ำ
รายการเครื่องผลิตออกซิเจนทั้งหมด รายละเอียดเพิ่มเติม
10 มกราคม 2567
ผู้ชม 227 ครั้ง