หลักการดูดเสมหะ และการประเมินการใช้เครื่องดูดเสมหะ

หมวดหมู่: บทความ

บทความ หัวข้อ Suction

ความหมาย

การดูดเสมหะ หมายถึง การใช้สายยางดูดเสมหะซึ่งปราศจากเชื้อผ่านเข้าทางปาก จมูก หรืออุปกรณ์ที่ใส่เข้าไปในหลอดลม เช่น Endotracheal, Tracheostomy tube เป็นต้น เพื่อนำเสมหะออกจากทางเดินหายใจ เนื่องจากผู้ป่วยไอขับเสมหะออกเองไม่ได้ หรือการเก็บเสมหะเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การประเมินสภาพผู้ป่วย/ ข้อบ่งชี้ แบ่งได้ 2 กรณี คือ

  1. การประเมินเพื่อการดูดเสมหะอาการที่ตรวจแล้วจำเป็นต้องได้รับการดูดเสมหะ ได้แก่
    1.1 พบปัจจัยเสี่ยงต่อเสมหะอุดกั้นภายในทางเดินหายใจ
  • ผู้ป่วยขับเสมหะออกเองไม่ได้
  • เสมหะปริมาณมาก ลักษณะเสมหะเหนียว

1.2 อาการแสดงของเสมหะอุดกั้นภายในทางเดินหายใจ

  • ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย หายใจลำบาก
  • หายใจเสียงดัง หรือการได้ยินเสียงเสมหะภายในหลอดลมของผู้ป่วย
  • อัตราชีพจรและการหายใจเพิ่มขึ้น
  • การฟังปอดได้เสียงผิดปกติ (Adventitions sound) เช่น Crepitation, Rhonchi เป็นต้น
  • ผิวหนัง เล็บมือ หรือเล็บเท้า มีสีเขียวคล้ำจากการพร่องออกซิเจน (Cyanosis)
  1. การประเมินที่ควรหาความผิดปกติอื่นๆ ด้วยเนื่องจากภาวะพร่องออกซิเจนของผู้ป่วยอาจมีสาเหตุนอกเหนือจากเสมหะอุดกั้นภายในทางเดินหายใจ ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยมีอาการร่วมที่แสดงถึงภาวะพร่องออกซิเจน พยาบาลจำเป็นต้องประเมินสภาพผู้ป่วยเพื่อหาสาเหตุต่างๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีอาการร่วมดังกล่าว เช่น
  • มีอาการกระสับกระส่าย หรือซึมลง
  • ค่า Oxygen Saturation ต่ำ

อุปกรณ์

  1. เครื่องดูดเสมหะ*
  2. สายดูดเสมหะที่สะอาดปราศจากเชื้อ (เลือกขนาดให้เหมาะสมกับผู้ป่วย)**
  3. ท่อต่อลักษณะรูปตัว Y
  4. ถุงมือสะอาดปราศจากเชื้อ
  5. Mask 
  6. สำลีปราศจากเชื้อ
  7. แอลกอฮอล์ 70%
  8. น้ำสะอาดปราศจากเชื้อ/ น้ำต้มสุก ใส่ในขวดขนาด 500-1000 ml. สำหรับล้างสายดูดเสมหะ
  9. ภาชนะใส่ถุงมือและสายดูดหลังภายหลังกานใช้งาน

*: การปรับแรงดันการดูดเสมหะให้เหมาะสม เพื่อป้องกันเลือดออก และลดการระคายเคืองต่อเยื่อบุและเนื้อเยื้อต่างๆ

  • กรณีดูดเสมหะด้วยระบบปิด (Close system) ควรใช้แรงดันไม่เกิน 160 mmHg
  • กรณีดูดเสมหะด้วยระบบเปิด (Open system) ควรปรับแรงดันให้เหมาะสม ดังนี้

ช่วงวัย

ชนิดของเครื่องดูดเสมหะ

ชนิดติดฝาผนัง (mmHg)

ชนิดรถเคลื่อนที่ใช้ไฟฟ้า (cmHg)

เด็กเล็ก

60 - 90

8 -10

เด็กโต

80 - 100

8 -10

ผู้ใหญ่

100 -120

10 -15

**: การเลือกสายดูดเสมหะ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกของสายสำหรับดูดเสมหะที่เหมาะสม คือ   ไม่เกิน ½ ของเส้นผ่าศูนย์กลางภายในของท่อเจอะคอ หรือผู้ใหญ่ใช้เบอร์ 14-16 Fr. เด็กเบอร์ 8-10 Fr. เพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบ (Lung collapse) เนื่องจากสายดูดเสมหะขนาดใหญ่จะทำให้ช่องว่างของท่อหายใจลดลงจนไม่เพียงพอ สำหรับอากาศภายนอกที่จะไหลเข้ามาแทนที่อากาศที่ดูดออก   
สำหรับการดูดเสมหะระบบปิด (Close system) ตามหลักฐานเชิงประจักษ์แนะนำให้ใช้สายดูดเสมหะขนาดไม่เกิน 12 Fr.

การเตรียมผู้ป่วย

  1. อธิบายให้ผู้ป่วยให้เข้าใจ เพื่อช่วยลดความกลัวและให้ความร่วมมือ
  2. การจัดท่าที่เหมาะสมในการดูดเสมหะ คือ ต้องจัดท่านอนศีรษะสูง 30 องศา (Semi - Fowler,s                   position) เพื่อป้องกันการสำลัก
  3. เพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากการเสมหะ ก่อนดูดเสมหะทุกครั้ง ควรปฏิบัติดังนี้
    • ผู้ป่วยที่หายใจเอง ควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจลึก ๆ 2-3 ครั้ง ตามด้วยการบีบ bag c Hyperoxygenate อีก 4 -6 ครั้ง
    • ผู้ป่วยที่หายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ ควรให้ออกซิเจนความเข้มข้นสูง (Hyperoxygenate) นาน 30 -60 วินาที

                 

การปฏิบัติการดูดเสมหะตามหลักฐานเชิงประจักษ์

  1. ใส่สายดูดเสมหะลงจนถึงระดับ carina จากนั้นให้ดึงสายขึ้นมา 1 cm จึงค่อยทำการดูดเสมหะ
  2. ไม่ควรดูดเสมหะเกิน 3 ครั้ง/รอบ
  3. ระยะเวลาที่ใช้ในการดูดเสมหะแต่ละครั้งไม่ควรนานเกิน 10 วินาที เพื่อป้องกันกล่องเสียงหดเกร็ง (laryngospasm) ภาวะขาดออกซิเจน และการกระตุ้น Vagus nerve ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  4. หยุดพักนาน 20 – 30 วินาที ระหว่างการดูดเสมหะแต่ละครั้ง เพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจน
  5. กรณีดูดเสมหะครบ 3 ครั้งแล้ว แต่ผู้ป่วยยังมีเสมหะมาก ให้เว้นระยะการดูดเสมหะซ้ำอย่างน้อย 2 -3 นาที
  6. กรณีผู้ป่วยมีเสมหะเหนียว ควรใช้ Heat Nebulizer แทนการใช้ NSS เนื่องจากมีการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (Randomized control trial) เกี่ยวกับผลการใช้ NSS ในการดูดเสมหะ ดังนี้
    • ไม่ช่วยให้เสมหะอ่อนตัวลง และไม่ช่วยดูดเสมหะได้มากขึ้น
    • เป็นการกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอ ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น และระดับ Oxygen Saturation ลดลง
    • สาร surfactant ในปอดลดลง ส่งผลให้ความสามารถในการหดตัว-ขยายตัวของปอดลดลง
    • โอกาสติดเชื้อมีแบคทีเรียในระบบหายใจเพิ่มขึ้น

การประเมินผลการดูดเสมหะ

ข้อบ่งชี้ที่แสดงว่า การดูดเสมหะได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น  

  1. ปริมาณเสมหะลดลง
  2. อัตราการหายใจ 12- 20 ครั้ง/ นาที และอัตราชีพจร 60- 80 ครั้ง/ นาที
  3. ไม่มีอาการหายใจลำบาก
  4. ไม่มีเสียงเสมหะภายในหลอดลมของผู้ป่วย
  5. ผิวหนัง เล็บมือ หรือเล็บเท้า มีสีเขียวคล้ำจากการพร่องออกซิเจน

 

https://ns.mahidol.ac.th/english/th/departments/FN/th/km/km_Suction.html

05 กุมภาพันธ์ 2564

ผู้ชม 2305 ครั้ง

Engine by shopup.com