การเลือกเครื่องผลิตออกซิเจน ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์และการใช้งาน
การเลือกเครื่องผลิตออกซิเจน ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์และการใช้งาน
หมวดหมู่: บทความ
การเลือกเครื่องผลิตออกซิเจน ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์และการใช้งาน
หลาย ๆ ท่านมีคำถามกันเข้ามาเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับการเลือกซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนให้กับคนที่เรารัก แต่ทว่า...ไม่ทราบเลยว่าจะเลือกซื้ออย่างไร และเริ่มจากตรงจุดไหนก่อนดีที่จะนำมาพิจราณาเลือกซื้อ วันนี้เรามีหัวข้อหลักสำคัญที่สุดในการเลือกซื้อสเปคเครื่องให้ออกซิเจนเพียงพอต่อผู้ป่วยในแต่ละเคสกันค่ะ ไปดูกันเลย
จำนวนลิตร มีผลอย่างไรในการเลือกซื้อเครื่องผลิตออกซิเจน?
ก่อนอื่นขออธิบายความหมายคำว่า " เครื่อง 3 ลิตร , 5 ลิตร , 10 ลิตร " คือ การเรียกสเปคเครื่องนั่นเอง
ตัวอย่าง เช่น เครื่อง 3 ลิตร นั่นคือเครื่องรุ่นนั้นๆ จะปรับปริมาตรออกซิเจนออกมาจากเครื่องให้กับผู้ป่วยหรือผู้ใช้งานได้ตั้งแต่ 1-3 ลิตร (เลข 1-3) โดยเทียบกับเวลาใน 1 นาที จะมีออกซิเจนไหลออกมาจากเครื่องได้ปริมาตรตามที่เราเปิด หรือเรียกง่ายๆคือ ความแรง
ค่าออกซิเจนจะบริสุทธิ์อยู่ที่ประมาณ (93+-3% ) ถ้าเปิดเกิน 3 ออกซิเจนจะไม่บริสุทธิ์เท่าเดิมแล้วแต่จะได้ลมแรงขึ้นเท่านั้น นี่คือการอธิบายเครื่องขนาด 3 ลิตร
ก็คิดไปเลยว่าถ้าซื้อ 5 ลิตร ก็เปิดได้ 1-5 ลิตร/นาที โดยที่ออกซิเจนบริสุทธิ์ และเครื่องสเปค 10 ลิตร ก็เป็นเช่นเดียวกัน เปิดได้ 1-10 เลยค่ะ
✅ดังนั้นการซื้อสเปคที่มากกว่าก็จะครอบคลุมการใช้งานมากกว่า แต่เครื่องก็จะหนักขึ้นและใหญ่ขึ้นด้วยนะคะ
คราวนี้เรามาดูว่าอุปกรณ์แบบไหนใช้ให้ออกซิเจนเท่าไหร่กันดี
สายให้ออกซิเจนแบบเสียบจมูก (nasal cannula) รองรับการให้ออกซิเจนที่ 1-6 ลิตรต่อนาที
ถ้าเปิดแรงกว่านี้อาจทำให้เยื่อบุจมูกอักเสบหรือเลือดกำเดาไหลได้ค่ะ
หน้ากากให้ออกซิเจน (Oxygen mask) ไม่ควรปรับต่ำกว่า 5 ลิตรต่อนาที
ถ้าปรับอัตราการไหลต่ำกว่านี้จะทำให้การให้ออกซิเจนไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากลมหายใจออกของเราจะถูกขังในหน้ากากและแรงลมจากเครื่องผลิตออกซิเจนเบาเกินไปไล่อากาศเสียออกไม่หมดนั่นเอง
หน้ากากออกซิเจนแบบมีถุง (Mask with bag) ไม่ควรเปิดต่ำกว่า 6 ลิตรต่อนาทีหรือแนะนำให้เปิดอัตราการไหลอยู่ที่ 8-10 ลิตร
ผู้ป่วยเจาะคอ ถ้าต้องให้ออกซิเจนมากกว่า 5 ลิตร ขึ้นไป ให้เลือกซื้อเครื่อง 10 ลิตร แรงดันสูง
เพราะถ้าซื้อแบบแรงดันธรรมดาใช้กับอุปกรณ์กระปุกให้ความชื้นแบบปรับ% จะปรับได้ประมาณ 5 ลิตรซึ่งนั่นก็จะไม่เพียงพอแพราะแรงดันเครื่องมันตกนั่นเอง
24 พฤศจิกายน 2566
ผู้ชม 18161 ครั้ง