ซื้อเตียงผู้ป่วย ต้องเลือกอย่างไร?

หมวดหมู่: บทความ

เมื่อแพทย์ได้ทำการอนุญาต หรือเห็นชอบให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปรักษาตัวได้เองที่บ้านแล้วนั้น สิ่งต่อไปที่ทางครอบครัวผู้ป่วยอย่างเรา ๆ ต้องคำนึงถึงหลักนั้นคือ เตียงสำหรับให้ผู้ป่วยได้พักผ่อน และทำการหัตถการต่าง ๆ ได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน เตียงผู้ป่วยนั้นมีจำหน่ายหลากหลายรูปแบบ หลายลักษณะโดยเตียงที่เราจะต้องเลือกซื้อนั้นมีปัจจัยอะไรบ้างในการพิจารณา วันนี้ทางเราได้ทำการคัดสรร ปัจจัยหลักๆ ในการเลือกซื้อเตียงสำหรับผู้ป่วย ดังต่อไปนี้

1. ขนาดเตียง

 ขนาดของเตียงที่เลือกใช้นั้นจะต้องรองรับกับตัวของผู้ป่วยโดยเตียงผู้ป่วยตามท้องตลาดนั้นจะมีความกว้างตั้งแต่ 80 – 90 เซนติเมตรขึ้นไป ซึ่งจะต้องวัดพื้นของเตียง มิใช่วัดความกว้างของเตียงทั้งหมด เนื่องจากฟูก หรือที่นอนนั้นจะถูกวางบนพื้นเตียง และน้ำหนักของผู้ป่วยจะถูกทิ้งตัว หรือกดทับลงฟูกที่นอนโดยมีพื้นของเตียงรองรับน้ำหนัก ถ้าหากเราใช้ฟูกที่มีความกว้างที่กว้างกว่าพื้นเตียงมากจนเกินไป หรือพื้นที่เตียงน้อยเกินไป เมื่อผู้ป่วยทิ้งน้ำหนักลงบนฟูกที่ไม่มีพื้นรองรับแล้วจะเกิดการไหลและพลิกของฟูกได้ รวมไปถึงความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับและเป็นแห่งสะสมเชื้อโรคได้เมื่อเกิดการเปื้อน

นอกจากการเลือกขนาดของเตียงให้เหมาะสมแล้ว อีกสิ่งที่ต้องนึกถึง คือ พื้นที่ของบ้านเราที่จะต้องนำเตียง และอุปกรณ์อื่น ๆ มาวางภายในบ้าน ดังนั้นเราจะต้องมีขนาดของเตียงคราวๆ จากการวัดพื้นที่คราวๆ อยู่ภายในใจเพื่อให้สามารถเข้ากับผู้ป่วยและบ้านของเราได้พอดีนั้นเอง

 

2. การใช้งาน

 

● การปรับฟังก์ชั่นเตียง

ฟังก์ชั่นของเตียงนั้นจะหมายถึง การปรับเตียงในลักษณะทางท่าที่จะอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย และผู้ดูแล โดยการใช้งานนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน ว่าต้องการการใช้งานฟังก์ชั่นในลักษณะใดได้บ้าง ซึ่งโดยหลักๆ นั้นจะมีฟังก์ชั่นการปรับเริ่มที่ 2 ฟังก์ชั่น พื้นฐาน คือ 1. การปรับพิงหลัง 2.การปรับชันหรืองอเข่า ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานพื้นฐานสำหรับผู้ป่วยทั่วไป หากสำหรับผู้ป่วยที่มีแนวโน้มในการติดเตียง หรือการเคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ ก็จะแนะนำว่าควรพิจารณาการใช้งานเตียงในฟังก์ชั่นอื่นๆ เพิ่มเติม ซึ่งจะมีฟังก์ชั่นที่หลากหลายมากขึ้น ตั่งแต่การปรับชันเข่าและพิงหลังพร้อมกัน , การปรับตะแครงซ้าย – ขวา , การปรับพื้นเตียงส่วนหัว-ท้ายเตียงขึ้นลง รวมไปถึงการปรับให้อยู่ในตำแหน่งคล้ายกับลักษณะท่านั่งได้อีกด้วย

● การปรับระดับความ สูง - ต่ำ

ในการเลือกเตียงของผู้ป่วยนั้น ฟังก์ชั่นการปรับสูงต่ำจะถูกมองข้ามไป สำหรับใครหลายๆ คน เนื่องจากผู้ป่วยทั่วไป หรือผู้ป่วยบางรายที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมไปถึงการมีผู้ดูแล หรือคนในครอบครัวที่ไม่สูงวัยมากนัก ก็สามารถใช้งานเตียงในระดับความสูงประมาณ 40 – 45 เซนติเมตรได้อย่างสะดวกสบาย แต่ในทางกลับกันแล้วนั้นการปรับสูงต่ำนั้นจะจำเป็นอย่างมาก ในผู้ป่วยทุกๆราย เนื่องจากเป็นการกระตุ้นในเกิดการขยับตัวในการทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเองบ้างเล็กน้อยเพื่อป้องกันการเกิดอาการติดเตียง หรือกล้ามเนื้อลีบเนื่องจากไม่ได้ใช้งานนั้นเอง ซึ่งการกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวแล้วนั้น การดูแลหรือทำกิจกรรมต่างๆ กับคนไข้ได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้นกับผู้ดูแล และคนในครอบครัว โดยการปรับสูงต่ำนั้น สามารถปรับได้ต่ำสุดถึง 24 -25 เซนติเมตรในรุ่นพิเศษ เช่น Super Low และสูงสุดถึง 60 -80 เซนติเมตรในรุ่นทั่วไป

● ไฟฟ้า หรือ แบบมือหมุน

ปัจจัยนี้ก็สำคัญในการเลือกซื้อด้วยเช่นเดียวกันเพราะในปัจจุบันนั้นเตียงส่วนใหญ่จะได้รับความนิยมเป็นแบบไฟฟ้าเนื่องจากมีฟังก์ชั่นการทำงานที่หลากหลายให้ผู้ใช้ได้เลือกซื้อ การใช้งานที่ง่ายและสะดวก ซึ่งในบางรุ่นนั้นมาพร้อมแบตเตอรี่สำรอง ซึ่งจะอยู่ในข้อถัดไป แต่สำหรับเตียงแบบมือหมุนก็นับเป็นเตียงรุ่นพื้นฐานที่สามารถใช้งานได้ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ หากแต่ฟังก์ชั่นในการปรับสูงต่ำอาจจะไม่มีในบางรุ่น มีเพียงการปรับพิงหลัง กับชันเข่าเท่านั้น ซึ่งทำให้การใช้งานฟังก์ชั่นอื่นๆถูกลดทอนลงไป

 

แบตเตอรี่ หรือ ไม่มีแบตเตอรี่

ในข้อนี้นั้น สำหรับผู้ที่พิจารณาในการเลือกใช้เตียงเป็นแบบไฟฟ้าแล้ว เรื่องถัดไปนั้นก็คือ เตียงของเราต้องใช้แบบมีแบตเตอรี่หรือไม่มีแบตเตอรี่อันไหนดีกว่ากันนะ ซึ่งในกรณีนี้นั้นให้เราพิจารณาจากอัตราการเกิดไฟดับในบริเวณที่พักอาศัยของเรา ว่าเกิดบ่อยครั้งหรือไม่ ซึ่งอาจจะรวมไฟกระชาก ไฟตกไปด้วย เพราะเนื่องจากการที่กระแสไฟฟ้ามาไม่คงที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อมอเตอร์ได้ ดังนั้นหากมีอุบัติการณ์ทางไฟฟ้าของบ้านท่านมีการเสี่ยงสูง แนะนำให้เลือกใช้เป็นรูปแบบเตียงที่มีแบตเตอรี่สำรอง เพราะไฟจะถูกเก็บผ่านแบตเตอรี่ก่อนและนำมาจ่ายไฟให้แก่เตียงซึ่งจะทำให้ได้กระแสฟ้าไฟได้เสถียรมากกว่า

 

อุปกรณ์ที่คนไข้ต้องการใช้งานร่วมกับเตียง

อุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่จำเป็นในการใช้งานร่วมกับผู้ป่วย หรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสาสำหรับแหวนถุงน้ำเกลือ , อาหารเหลว หรือยาต่างๆ ให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งถ้าหากเตียงที่เราเลือกซื้อนั้นมีแท่นสำหรับรองรับเสาน้ำเกลือทั้ง 4 มุมจะทำให้เราสะดวกในการใช้งานยิ่งขึ้น  หรือการที่สามารถใช้งานรวมกับโต๊ะคร่อมเตียง , ถาดอาหารได้ก็จะสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยมากยิ่งขึ้นนั้นเอง

 

3. รูปร่างลักษณะต่าง ๆ

● วัสดุ ไม้ หรือพลาสติก

ในกรณีที่เราเลือกวัสดุของเตียงนั้น โครงสร้างหลักจะสร้างมาจากอะลูมิเนียมแข็งแรง ส่วนหัวเตียง ท้ายเตียง และราวกั้นนั้นจะถูกผลิตจากพลาสติก หรือไม้อัด เป็นส่วนที่เราจะต้องเลือก เนื่องจากวัสดุทั้งสองอย่างนี้จะทำให้เกิดรูปร่างที่แตกต่างกัน โดยพลาสติกนั้นจะขึ้นรูปแบบที่ทันสมัยมีที่แบบราวกันที่คล้ายคลึงกับที่เราพบเห็นในโรงพยาบาลทั่วไป รวมไปถึงเป็นลักษณะคล้ายปีกที่จะดูทันสมัย แต่จะดูค่อยข้างทึบ หรือปิดบังการมองเห็นด้านข้าง เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการเห็นพยาบาลหรือผู้ดูแลจัดเตรียมอุปกรณ์ แต่จะไม่เหมาะกับคนที่ไม่ชอบที่แคบ แต่ถ้าหากเตียงแบบพลาสติกนั้นอาจจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหมือนอยู่โรงพยาบาลได้ ลองมองหาเป็นเตียงแบบไม้นำไปใช้ในบ้านแทนเพื่อทำให้กลมกลืนกับบ้านของเรามากกว่า ความสบายใจของผู้ป่วยก็มากขึ้นอีกด้วย

 

● ระบบการล็อคล้อ

การล็อคล้อจะมีอยู่อย่างง่าย ๆ คือ ล็อคเพียง 2 ล้อหลัง กับล็อคทั้ง 4 ล้อ ซึ่งแนะนำให้เลือกระบบการล็อคล้อ เป็นแบบ 4 ล้อ โดยการล็อคจะมีการล็อคแบบล็อคที่ละล้อ หรือล็อคพร้อมกันทั้ง 4 ล้อในการล็อคครั้งเดียว ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบุคคล

 

● ราคา

ในปัจจัยของนี้ ก็สำคัญดังนั้นควรศึกษารายละเอียดข้างต้นที่ได้กล่าวมา แล้วพิจารณาว่า ผู้ป่วยนั้นเหมาะสมกับรูปแบบเตียงแบบไหน และผู้ดูแล หรือคนในครอบครัวสามารถใช้งานได้สะดวกที่สุด คุณก็จะได้รูปแบบเตียงในใจ จากนั้นทำการเลือกร้านที่น่าเชื่อถือ ที่คุ้มค่ากับราคา รวมไปถึงการประกันคุณภาพหลังการขายว่าเพียงพอหรือครอบคลุมอะไรบ้าง เพื่อเป็นประโยชน์ของคุณอย่างถึงที่สุด

 

 

หมายเหตุ : ติดต่อบริษัทฯผู้จัดจำหน่าย

เวลาทำการ : จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-17.30 น.

เวลาหยุดทำการ : เสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์

**กรณีลูกค้ามานอกเวลาสามารถโทรนัดเข้ามาดูสินค้าได้**

 

10 พฤษภาคม 2565

ผู้ชม 870 ครั้ง

Engine by shopup.com