ชุดดักความชื้นส่วนเกิน (water trap) คือ ?
ชุดดักความชื้นส่วนเกิน (water trap) คือ ?
ชุดดักความชื้นส่วนเกิน (water trap) คือ ?
อุปกรณ์ที่เป็นตัวช่วยในการดักจับความชื้นส่วนเกินในสายให้ออกซิเจนแบบเสียบจมูก หรือ Nasal Oxygen Cannula เพื่อป้องกันการเกิดไอน้ำหรือความชื้นส่วนเกินในสายให้ออกซิเจนขึ้น แล้วอาจจะทำให้น้ำไหลเข้าสู่จมูกของผู้ใช้งานได้
น้ำภายในสายให้ออกซิเจนนั้นเกิดได้อย่างไร ?
ในความเป็นจริงแล้วนั้น น้ำในสายที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากตัวเครื่องผลิตออกซิเจนแต่อย่างใด จึงไม่ต้องกังวลว่า เครื่องผลิตออกซิเจนนั้นมีปัญหา หรือทำงานขัดข้องหรือไม่ ดังนั้นเครื่องจึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการแก้ไขจากช่างหรือการนำเครื่องเข้ามาตรวจสอบเพิ่มเติมแต่อย่างใด ที่อาจจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายอื่นๆโดยไม่จำเป็น
ซึ่งการเกิดน้ำในสายให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วยนั้น เกิดขึ้นมาจากปรากฏการณ์การควบแน่น (Condensation) โดยเป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดจากจากสภาวะไอระเหย จับตัวแล้วควบแน่นกลายเป็นของเหลว กล่าวคือ จากไอน้ำกลายเป็นหยดน้ำ
โดยปรากฏการณ์การควบแน่นนี้ จะเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิที่แตกต่างกัน จากสภาพแวดล้อมที่ร้อนกระทบสภาพแวดล้อมที่เย็น และความชื้นในอากาศที่มากพอ จะทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำกลายเป็นหยดน้ำภายในสาย ที่เราพบเห็นนั้นเอง
ยกตัวอย่างปรากฎการณ์ที่อยู่รอบตัวเรา คือ หากเราเอาแก้วน้ำเย็นมาวางไว้ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิห้อง จะทำให้เกิดหยดน้ำเกาะข้างแก้ว หรือหากเราเปิดน้ำอุ่นอาบน้ำ จะพบว่า มีไอน้ำจะเกาะที่กระจกกลายเป็นหยดน้ำ นั้นเอง
การเกิดหยดน้ำในสายจึงเกิดจากไอน้ำที่มาจากกระปุกน้ำทำความชื้น นั้นมีปริมาณมากหรือมีความชื้นสูง บวกกับความต่างของอุณหภูมิระหว่างภายในและภายนอกสายให้ออกซิเจน จึงทำให้เกิดการควบแน่น และกลายเป็นหยดน้ำเกาะอยู่ตามสายให้ออกซิเจนขึ้น
แล้วกรณีใดบ้างที่อาจทำให้เกิดน้ำในสายให้ออกซิเจนได้ ???
1.เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิขึ้นในระหว่างที่ส่งแก๊สออกซิเจนจากตัวเครื่องไปหาผู้ป่วย เช่น เครื่องผลิตออกซิเจนในหลายๆรุ่น มักมีเสียงการทำงานที่ดังรบกวนการนอน ทำให้บ่อยครั้งผู้ใช้งานจึงนำเครื่องไปวางไว้ที่นอกห้องนอนแล้วใช้สายให้ออกซิเจนต่อเข้าไปหาผู้ใช้งานภายในห้องอีกที ซึ่งอุณหภูมินอกห้องนั้น ไม่เท่ากับในห้อง จึงอาจทำให้เกิดการควบแน่นขึ้นภายในสายได้
หรือบางครั้ง การเปิดใช้เครื่องผลิตออกซิเจน เป็นระยะเวลานานจะมีความร้อนสะสมอยู่ที่พื้นหรือที่เครื่อง จนบางครั้งความร้อนดังกล่าวเข้ามาสัมผัสที่สายให้ออกซิเจนจึงทำให้เกิดการควบแน่นได้เช่นกัน
หรือ การที่อุณหภูมิของพื้นมีอุณหภูมิหนึ่ง ส่วนที่ตัวเครื่องก็มีอุณหภูมิหนึ่ง สภาพแวดล้อมในตอนใช้งานนั้นก็อีกอุณหภูมิหนึ่ง
ไปถึงตัวผู้ป่วยก็อีกอุณหภูมิหนึ่ง การผ่านร้อนผ่านหนาวแบบนี้ทำให้มีโอกาสเกิดการควบแน่นได้ง่าย
2.เมื่อมีความชื้นสัมพัทธ์สูง กรณีนี้จะพบได้บ่อยมากในช่วงฤดูฝน เนื่องจากมีความชื้นในอากาศค่อนข้างสูง เมื่อเราใช้เครื่องผลิตออกซิเจนร่วมกับกระปุกน้ำให้ความชื้นอีกนั้น จะทำให้ออกซิเจนจากเครื่องผลิตผ่านมาเจอกับความชื้นที่มาจากกระปุกแล้ว ทำให้ความชื้นทั้งหมดภายในสายให้ออกซิเจนไม่สามารถคงสภาวะไอน้ำได้อีกต่อไป จึงทำให้เกิดการควบแน่นได้ง่ายมาก
แนวทางการแก้ไข
1.พยายามควบคุมสภาพแวดล้อมระหว่างใช้งานให้มีอุณหภูมิเดียวกัน กล่าวคือ ไม่นำเครื่องผลิตออกซิเจนไว้นอกห้อง ให้ไว้ในบริเวณเดียวกัน ใกล้ๆ กับผู้ใช้งาน
2.พิจารณาการปรับลดระดับน้ำภายในกระปุกให้ความชื้น
3.พิจารณาเปลี่ยนสายให้ออกซิเจน แบบเสียบจมูก (แคนนูลา) เมื่อมีน้ำในสาย รวมทั้งเปลี่ยนน้ำในกระปุกให้ความชื้นเพื่อให้อุณหภูมิน้ำกับอุณหภูมิห้องเป็นอุณภูมิที่ใกล้เคียงกัน
4.พิจารณาไม่ใช้กระปุกให้ความชื้น ในสภาพแวดล้อมที่ความชื้นสูงอยู่แล้ว และในทางการแพทย์ หากปรับอัตราการไหลของออกซิเจนอยู่ระหว่าง 1 – 4 ลิตร/นาที อาจพิจารณาไม่ใช้กระปุกให้ความชื้นได้ หากผู้ใช้งานไม่มีอาการเจ็บคอ หรือระคายเคืองเนื่องจากความชื้นไม่เพียงพอ
5.พิจารณาใช้อุปกรณ์ดักจับความชื้นส่วนเกินร่วมด้วย (รายละเอียดเพิ่มเติม)
09 สิงหาคม 2565
ผู้ชม 2396 ครั้ง