น้ำในสายแคนนูล่า ปัญหายอดฮิต และวิธีแก้ไข

หมวดหมู่: บทความ

ปัญหาน้ำในสายแคนนูลา และการแก้ไข

 

 

น้ำในสายเกิดได้อย่างไร

 

ในความเป็นจริงแล้วน้ำในสายที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดจากเครื่องผลิตออกซิเจนเสีย หรือ มีปัญหาใดๆจากตัวเครื่อง จึงไม่ต้องการการแก้ไขจากช่าง หรือ ต้องนำเครื่องเข้ามาตรวจสอบเพิ่มเติมแต่อย่างใด

การเกิดน้ำในสายนั้น เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากปรากฏการณ์การควบแน่น (Condensation) จากภาวะ ไอระเหย กลาย เป็น ของเหลว กล่าวคือ จากไอน้ำ กลาย เป็นน้ำ

 

ปรากฏการณ์การควบแน่นของน้ำในสาย จะเกิดขึ้นเมื่อ อุณหภูมิที่แตกต่าง จากร้อนกระทบเย็น และความชื้นในอากาศที่มากพอ จะทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำกลายเป็นน้ำ ยกตัวอย่างปรากฎการณ์ที่เห็นชัด เช่น หากเราเอาแก้วน้ำเย็นมาวางไว้ในอุณหภูมิห้อง จะทำให้เกิดหยดน้ำเกาะข้างแก้ว หรือ หากเราเปิดน้ำอุ่นอาบน้ำไม่นาน ไอน้ำจะเกาะที่กระจกกลายเป็นหยดน้ำ ปรากฎการณ์เหล่านี้ก็เทียบเคียงได้กับการเกิดหยดน้ำในสาย

 

การเกิดหยดน้ำในสายจึงเกิดจาก ไอน้ำในสายมีปริมาณมากพอที่ทำให้เกิดการควบแน่น (ความชื้นสูง) ความต่างของอุณหภูมิที่ผนังภายในสายที่เย็นกว่าไอน้ำภายในสาย จึงทำให้เกิดการควบแน่น

 

จากประสบการณ์ และบวกรวมกับปรากฏการ การควบแน่น จึงพอจะให้ข้อมูลทางผู้อ่านได้ว่า ใช้เครื่องผลิตออกซิเจน ในกรณีใดบ้างที่อาจทำให้เกิดน้ำในสาย

 

1.เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจากตัวเครื่องไปหาผู้ป่วย เช่น เครื่องผลิตออกซิเจนหลายรุ่น มักมีเสียงการทำงานที่ดังรบกวนการนอน บ่อยครั้งผู้ใช้งานจึงนำเครื่องไปวางไว้ที่นอกห้องแล้วลากสายแคนนูลาเข้าไปหาผู้ใช้งานในห้อง อุณหภูมินอกห้อง ไม่เท่ากับในห้อง จึงอาจทำให้เกิดการควบแน่นขึ้นได้

หรือบางครั้ง เครื่องเมื่อเปิดใช้เป็นระยะเวลานานจะมีความร้อนสะสมอยู่ที่พื้นหรือที่เครื่อง จนบางครั้งความร้อนดังกล่าวเข้ามาสัมผัสที่สายแคนนูลาจึงทำให้เกิดการควบแน่นได้

หรือบางครั้งที่อุณหภูมิของพื้นก็อุณหภูมิหนึ่ง ที่ตัวเครื่องก็อุณหภูมิหนึ่ง บรรยากาศในตอนใช้งานก็อีกอุณหภูมิหนึ่ง ไปถึงตัวผู้ป่วยสายพาดที่ตัวผู้ป่วยก็อีกอุณหภูมิหนึ่ง การผ่านร้อนผ่านหนาวแบบนี้ทำให้มีโอกาสเกิดการควบแน่นได้ง่าย

 

2.เมื่อมีความชื้นสัมพัทธ์สูง กรณีนี้จะพบได้บ่อยมาก ๆ ในช่วงฤดูฝน เนื่องจากมีความชื้นในอากาศสูง เมื่อเราใช้เครื่องผลิตออกซิเจนร่วมกับ กระปุกให้ความชื้น ความชื้นที่ผ่านมาจากกระปุกผ่านไปเจอกับความชื้นในอากาศ ซึ่งความชื้นในอากาศไม่สามารถเก็บน้ำไว้ในรูปแบบไอได้อีกต่อไป จึงทำให้เกิดการควบแน่นได้ง่ายมาก

 

แนวทางการแก้ไข

1.ควบคุมอุณหภูมิระหว่างใช้งานให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน กล่าวคือ ไม่นำเครื่องผลิตออกซิเจนไว้นอกห้อง ให้ไว้ในบริเวณเดียวกับผู้ใช้งาน

 

2.พิจารณาลดระดับน้ำในกระปุกให้ความชื้น

 

3.พิจารณาเปลี่ยนสายแคนนูลา เมื่อมีน้ำในสาย รวมทั้งเปลี่ยนน้ำในกระปุกให้ความชื้นเพื่อให้อุณหภูมิน้ำกับอุณหภูมิห้องเป็นอุณภูมิที่ใกล้เคียงกัน

 

4.พิจารณา ไม่ใช้กระปุกให้ความชื้น ในภาวะที่ความชื้นสูงอยู่แล้ว และในทางการแพทย์ หากปรับอัตราการไหลของออกซิเจนอยู่ระหว่าง 1 – 4 ลิตร/นาที อาจพิจารณาไม่ใช้กระปุกให้ความชื้นได้ หากไม่มีอาการเจ็บคอ หรือระคายเคืองเนื่องจากความชื้นไม่เพียงพอ

 

5.พิจารณาใช้อุปกรณ์ดักจับความชื้นส่วนเกินร่วมด้วย (ดูเพิ่มเติมได้ที่)

>>ชุดดักความชื้นส่วนเกิน<<

 

 

 

 

 

 

 

26 มกราคม 2564

ผู้ชม 3883 ครั้ง

Engine by shopup.com