พ่นยา ต้องใช้เครื่องผลิตออกซิเจนกี่ลิตร ?
พ่นยา ต้องใช้เครื่องผลิตออกซิเจนกี่ลิตร ?
ต้องพ่นยา คุณหมอบอกให้ใช้ออกซิเจน 8 - 10 ลิตร/นาที จริงหรือ?
หลายๆท่านคงมีข้อสงสัย ว่าการพ่นยาเองที่บ้านจำเป็นต้องเสียเงินซื้อเครื่องที่มีสเปคสูงๆราคาแพงหรือไม่ คุณหมอแจ้งว่าต้องพ่นยาจำเป็นต้องใช้ออกซิเจน 8-10 ลิตร ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าคุณหมอแนะนำผิดแต่อย่างใด หากการพ่นยานั้นเป็นการใช้ระบบท่อออกซิเจนที่ติดตามผนังภายในโรงพยาบาล
ซึ่งระบบ (pipeline) ที่ใช้งานภายในโรงพยาบาลนั้น จะแตกต่างจากเครื่องผลิตออกซิเจนที่ใช้งานภายในบ้าน ( แต่จุดประสงค์การใช้งานนั้นเหมือนกัน )
วันนี้ผมจะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งาน พ่นยา ด้วยเครื่องผลิตออกซิเจนให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบของเครื่อง เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องครับ
เครื่องผลิตออกซิเจนที่นำมาใช้พ่นยาด้วย จำเป็นมั้ยที่ต้องใช้ เครื่องที่จ่ายออกซิเจน 8 - 10 ลิตร ?
การให้ออกซิเจนนั้น จะเป็นคนละส่วนกับการพ่นยาอยู่แล้ว ซึ่งถ้าเป็นเครื่องผลิตออกซิเจนทั่วไป
แรงดันลมทีออกมา ต่อให้เป็น 10 ลิตรก็ไม่สามารถพ่นยาได้ เนื่องจากแรงดันไม่เพียงพอที่จะทำให้ตัวยาแตกออกมาเป็นฝอยละอองได้
แล้วทำไมที่โรงพยาบาลถึงใช้ออกซิเจนพ่นยาได้หละ ?
เหตุผลที่โรงพยาบาลพ่นยาด้วยออกซิเจนได้ เพราะระบบท่อจ่ายออกซิเจนของโรงพยาบาลเป็นแบบแรงดันสูง (pipeline) ซึ่งสามารถใช้ในการพ่นยาได้
แต่ปัจจุบันเครื่องผลิตออกซิเจนบางรุ่นที่ใส่ฟังก์ชันเสริมขึ้นมา เรียกว่าฟังก์ชันพ่นยา (Nebulizer Outlet)
ซึ่งหลักการทำงานของฟังก์ชันนี้จะมีแรงดันลมที่สูง วัดค่าออกซิเจนได้เพียง 21% กล่าวคือไม่ได้ผ่านการกรองด้วยไส้กรองออกซิเจนที่ผลิตได้ 93 +/- 3% นั่นเอง
เราสามารถพ่นยาที่บ้านด้วยตนเองแบบไหนได้บ้าง ?
ทางเลือกในการพ่นยา ไม่ได้จำเป็นต้องยึดติดว่าต้องใช้เครื่องผลิตออกซิเจนอย่างเดียว ผู้ใช้งานสามารถเลือกได้หลากหลายวิธี
1.พ่นยาด้วยเครื่องพ่นยา ( air pump ) เครื่องประเภทนี้จะปล่อยแรงดันอากาศ 21% หรืออากาศที่เราหายใจปกติ โดยมีการกรองอากาศผ่าน Filter ให้สะอาด และประกอบเข้ากับหน้ากากในการทำให้ตัวยาแตกเป็นฝอยละออง และสูดดมผ่าน Face Mask หรือ Mouth Piece
2.การพ่นยาด้วยฟังก์ชันพ่นยาของเครื่องผลิตออกซิเจน ซึ่งวิธีนี้ก็จะเป็นระบบ air pump เหมือนเครื่องพ่นยาเช่นกัน เครื่องผลิตออกซิเจน บางรุ่น จะติดระบบพ่นยาพ่วงเข้ามาด้วย เพราะผู้ป่วยที่มีปัญหาเกียวกับโรคทางเดินหายที่ต้องให้ออกซิเจน ส่วนใหญ่จำเป็นต้องพ่นยาประกอบการบำบัดรักษาด้วยออกซิเจน
3.การพ่นยาด้วยออกซิเจนแรงดันสูง (oxygen flowmeter ) การพ่นยาด้วยวิธีนี้จะใช้ ถังออกซิเจน ในการพ่นยา หรือใช้เครื่องผลิตออกซิเจน ที่มีแรงดันสูง 20 psi ในการพ่นยา ซึ่งจะเหมาะใช้ในผู้ป่วยที่อาการหอบเหนื่อยรุนแรง หรือร่างกายขาดออกซิเจนรุนแรง ต้องให้ออกซิเจนตลอดเวลา
ข้อสรุป
การที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนเพื่อการบำบัดรักษา และต้องพ่นยาด้วย การพิจารณาที่จะซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนสักเครื่อง ไม่จำเป็นต้องโฟกัสในส่วนของการพ่นยาเป็นหลัก ให้เลือกเครื่องที่เหมาะต่อการใช้งาน และมีประสิทธิภาพที่ดี
ส่วนในเรื่องของการพ่นยานั้น ถ้ารุ่นที่ท่านเลือกมีฟังก์ชันพ่นยาเสริมมาด้วยก็ถือเป็นเรื่องดี
แต่หากไม่มีมาด้วย ก็ไม่ต้องเป็นกังวลใจ เพราะเครื่องพ่นยาทั่วไปก็มีจำหน่ายในราคาที่ไม่ได้สูงมากนัก ( 1500 - 3000 ) และอาจจะมีประสิทธิภาพในการพ่นได้ดีกว่า ฟังก์ชันพ่นยาบนเครื่องผลิตออกซิเจนด้วยซ้ำ
ขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาจนจบ หวังว่าบทความนี้ จะมีประโยชน์ต่อการเลือกซื้อ และการใช้งานที่ดี
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมท่านสามารถ
สอบถามผ่านช่องทางต่างๆของเรา ได้เลยครับ
สงวนลิขสิทธิ์ ทั้งบทความ โดยผู้เขียน ลิขสิทธิ์ภาพถ่าย ทั้งหมด เป็นของ Siam Oxygen และผู้เขียน ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เผยแพร่ครั้งแรกใน www.siamoxygen.com 24 สิงหาคม 2563
Copyright (c) 2018 Text and Pictures. Use of such content either in part or in whole without permission is prohibited. First published in www.siamoxygen.com 24 August 2020
26 มกราคม 2564
ผู้ชม 5932 ครั้ง