พ่นยาแล้วไอละอองออกมาน้อย แก้ไขอย่างไร

หมวดหมู่: บทความ

พ่นยาแล้วไอละอองออกมาน้อย แก้ไขอย่างไร

 

การพ่นยา หรือ Nebulizer treatment เป็นวิธีการบริหารยาชนิดหนึ่ง โดยให้ยาโดยการเปลี่ยนสถานะจากยาน้ำ ให้กลายเป็นไอ เพื่อวัตถุประสงค์ในการออกฤทธิ์โดยตรง ด้วยการสูดดมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ

 

เรามักจะเจอปัญหาของการพ่นยาให้ผู้ป่วยที่บ้านอยู่บ้าง ในกรณีที่ การพ่นยาให้ผู้ป่วยแล้วไอละอองออกมาน้อยกว่าปกติ หรือ น้อยกว่าที่เคยพ่นอยู่ประจำ 

 

ปัญหานี้มีสาเหตุได้หลายประการ เราลองไปดูแต่ละสาเหตุและ แนวทางในการแก้ไขปัญหากันครับ

 

  1. สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือ ชุดพ่นยา เสื่อมสภาพ โดยเฉพาะกระเปาะพ่นยา (ที่ใส่ยา) เมื่อใช้ไประยะเวลาหนึ่ง ประมาณ 1 เดือน กระเปาะพ่นยานี้มีโอกาสเสื่อมสภาพ ผลก็คือ เมื่อใช้แรงอัดอากาศจากชุดพ่นยา หรือ ฟังชั่นพ่นยาจากเครื่องผลิตออกซิเจนเท่าเดิม ไอละอองจะออกมาน้อยกว่าเดิม ในกรณีนี้ การแก้ไขคือ เปลี่ยนชุดพ่นยาเป็นชุดใหม่
  2. สาเหตุเกิดจาก ชุดพ่นยาบางยี่ห้อ ต้องการแรงดันอากาศสูงกว่า ชุดพ่นยาเดิมที่มากับเครื่อง หลายๆครั้งปัญหานี้มาจาก การนำชุดพ่นยาที่ได้มาจาก โรงพยาบาล มาใช้กับเครื่องพ่นยาที่บ้าน ชุดพ่นยาจากโรงพยาบาลไม่มีปัญหาไอละอองน้อย เนื่องจากช่องพ่นยาที่โรงพยาบาลสามารถปรับแรงดันอากาศได้ตามต้องการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ไอละอองเท่าที่ต้องการ แต่เมื่อนำกลับมาใช้ที่บ้านซึ่ง มีแรงดันเพียงระดับเดียว และ บางครั้งไม่พอต่อการให้ไอละอองตามต้องการ จึงเกิดปัญหานี้ขึ้น ดังนั้น แนะนำเปลี่ยนชุดพ่นยาที่เหมาะสมกับเครื่องพ่นยาที่บ้าน
  3. ไอน้อยกว่าเดิมแต่เพียงพอต่อการพ่นยา ปัญหานี้อาจเกิดจากสาเหตุข้างต้น ทั้ง 2 ข้อ แต่อย่างไรก็ตามการพ่นยาที่ดีมักจะทำภายใน ระยะเวลา 15-30 นาที (ปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล) ซี่งหากไอละอองหมดในช่วงเวลาที่แนะนำ ก็ถือว่าเป็นการพ่นยาที่สมบูรณ์แล้ว ในกรณีนี้ ให้พิจารณาเปลี่ยนชุดพ่นยา หากการพ่นยานั้นยาวนานกว่า 30 นาที ขึ้นไปหรือตามแพทย์แนะนำ
  4. เครื่องพ่นยา หรือ ฟังชั่นพ่นยาจากเครื่องผลิตออกซิเจนมีปัญหา กรณีนี้ผู้ใช้งานสามารถสังเกตุแรงลมที่ออกจากเครื่องพ่นยา หรือ ฟังชั่นพ่นยา ก่อนทำการต่อกับชุดพ่นยา ว่ายังให้แรงลมเหมือนเดิมหรือไม่ หากพบว่าก่อนต่อชุดพ่นยานั้น แรงลมนั้นต่ำกว่าปกติ ก็อาจเป็นสาเหตุที่ให้ไอละอองน้อย ต้องติดต่อศูนย์บริการเพื่อส่งเครื่องเข้าแก้ไข แต่หากแรงลมปกติแต่ต่อกับชุดพ่นยาแล้ว ให้ไอละอองที่น้อยกว่าปกติ สาเหตุก็จะเกิดจากชุดพ่นยาเสื่อมสภาพ

 

เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ

 

สงวนลิขสิทธิ์ ทั้งบทความ โดยผู้เขียน นายวีริศ หิรัญเมฆาวนิช

ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

เผยแพร่ครั้งแรกใน www.siamoxygen.com

18 กุมภาพันธ์ 2564

ผู้ชม 749 ครั้ง

Engine by shopup.com